บทความ


เรื่อง ความจำเป็นต้องทำหนังสือสัญญา

ในชีวิตประจำวันพวกเราทุกคนต่างทำสัญญาขึ้นมา โดยไม่รู้ตัว เช่น ไปซื้อของที่ร้านค้า เจ้าของร้านค้า วางสินค้าและกำหนดราคาไว้หน้าร้านเพื่อเสนอขายสินค้า ส่วนลูกค้าสนองตอบด้วยการตกลงซื้อสินค้า กระบวนการนี้ถือว่าสัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว เจ้าของร้านจึงมีหน้าที่ส่งมอบสินค้า และลูกค้ามีหน้าที่ชำระค่า สินค้าสัญญาจึงเสร็จสิ้น สัญญาจึงเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน

แต่ปัญหามักจะเกิดขึ้นเมื่อมีระยะเวลาการส่งมอบสินค้า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา เช่น รับสินค้าไปแล้วไม่จ่ายเงิน หรือจ่ายเงินไปแล้วไม่ได้รับสินค้า ซึ่งการจะบังคับฝ่ายผิดสัญญาปฏิบัติตาม สัญญานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งการผิดสัญญากฎหมายระบุว่า เป็นความผิดทางแพ่งจะต้องไปฟ้องร้องที่ศาล และการจะฟ้องร้องต่อศาลในคดีแพ่งนั้นจำเป็นต้องมี หลักฐานพิสูจน์ว่าผู้ฟ้องกระทำตามสัญญาแล้วและผู้ผิดสัญญาผิดสัญญาอย่างไร ดังนั้นเพื่อเป็นการง่าย ในการดำเนินการจะต้องทำสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทุกครั้ง

ทนายณัฐดนัย 064-994-9909 ผู้พิมพ์

เรื่อง ข้อแนะนำสัญญารับเหมาก่อสร้าง (แนะนำเจ้าของบ้าน)

สัญญารับเหมาก่อสร้างนั้น ผู้สร้างบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ขั้นตอนการก่อสร้างจึงมักใช้สัญญา ของผู้รับเหมาโดยไม่ตรวจดูให้ดีว่าแต่ละงวดงานที่จะต้องชำระเงินนั้นเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเงินส่วนใหญ่ จะกองอยู่ในงวดแรกๆ เช่นจ่ายไปครึ่งหนึ่งแล้วแต่บ้านยังได้แค่เสาหรือคาน ซึ่งเป็นการจ่ายเงินเกินส่วน หากมีปัญหาเกิดขึ้นจำเป็นต้องเปลี่ยนผู้รับเหมา เจ้าของบ้านย่อมต้องเสียเงินฟรีในส่วนที่จ่ายตามสัญญา ของผู้รับเหมา ซึ่งเป็นไปตามสัญญาของผู้รับเหมาที่เจ้าของบ้านลงนามไปแล้ว และเมื่อเจ้าของบ้าน จ้างผู้รับเหมารายใหม่เข้ามาทำ เจ้าของบ้านจะต้องจ่ายเงินสูงกว่าที่ตั้งงบประมาณเอาไว้ ปัญหาจาก สัญญาว่าจ้างผู้รับเหมารายเดิมที่ให้เจ้าของบ้านจ่ายเงินเกินส่วนงานที่ทำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ควรศึกษาข้อตกลงในสัญญา หรือนำสัญญาเข้าปรึกษาทนายความก่อนที่ตกลงทำสัญญาทุกครั้ง

ทนายณัฐดนัย 064-994-9909 ผู้พิมพ์